สารจากรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนและสื่อสารองค์กร #1
แนวทางการพัฒนาเชิงรุกงานและบริการ สำนักการกีฬา มก.
หลังจากรับมอบภารกิจใหม่ในการบริหารจัดการในตำแหน่งรองอธิการบดีอีกวาระเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยมีภารกิจสำคัญอีกประการในการกำกับดูแลสำนักการกีฬาอย่างเต็มตัว ผมเชื้อเชิญท่านผู้อำนวยการสำนักการกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สุริยา แก้วรอดฟ้า และทีมงานอาคารสถานที่ มาเดินออกกำลังกายสำรวจอาคารสำนักการกีฬา สนามกีฬาและจุดให้บริการในความรับผิดชอบแบบ ต่อเนื่องมาถึงการนัดประชุมมอบนโยบายกับทีมผู้ปฏิบัติงานทั้งสำนักในเวลาต่อมาเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการพัฒนางานร่วมกัน
จากการประมวลแนวนโยบายการบริหารจัดการที่ได้รับจากท่านอธิการบดี ผสมผสานกับสิ่งที่เห็นและสัมผัสได้ในมุมของผู้ใช้บริการของตัวเอง การปรึกษากับทีมผู้ช่วยอธิการบดีในฝ่ายตนเอง และการรับฟังความเห็นจากนิสิต คณาจารย์ บุคลากรที่มีโอกาสใช้บริการด้านกีฬา ผมคิดว่าเรื่องเร่งด่วนที่ผมจะผลักดันงานของสำนักในช่วงระยะเวลา 3-6 เดือนต่อจากนี้ จะเป็นประเด็นดังต่อไปนี้ครับ
1-การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ/ ภูมิทัศน์ อาคารสนามกีฬาและสถานที่อย่างสร้างสรรค์ให้สวยงามขึ้นผ่านการออกแบบในทุกมิติและการใช้ Visual Graphic ประกอบ ภายใต้งบประมาณที่เหมาะสม : Creative Approach
2-การวางแผนใช้สถานที่/สนามกีฬาเพื่อการเรียนการสอนและการให้บริการทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ด้วยเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ/ กำหนดนโยบายการใช้งานพื้นที่สนามกีฬาและการให้บริการที่ชัดเจนเน้นประโยชน์แก่นิสิต บุคลากร และผู้ใช้บริการจากภายนอกตามลำดับ : Planning & Service Utilization Approach
3-วางแผนกิจกรรมและพัฒนาพื้นที่ลักษณะ Co-recreation Space เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และการสร้างสุขภาวะของนิสิตและบุคลากรด้วยกีฬาและสันทนาการ : Well-being Approach
4-ปรับปรุงวิธีการเข้าถึงบริการทั้งสถานที่และระบบการจองใช้บริการสนามกีฬาผ่านระบบสารสนเทศเพื่อความสะดวกของลูกค้าและการบริหารจัดการ : User Friendly Approach
5-พัฒนา/ ปรับปรุง และปรับเปลี่ยนพื้นที่สนามกีฬา และพื้นที่อาคารที่ไม่ได้ใช้งานให้สามารถใช้งานได้ โดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและลดความสูญเปล่าของทรัพยากร : Space & Time Utilization Approach
6-การวางแผนลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และมีมาตรการกำกับดูแลการใช้งานพื้นที่สนามกีฬา และชมรมกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น : Energy & Resources Efficiency Approach
7-พัฒนาและปรับปรุงช่องทางหารายได้เพิ่มเติมจากบริการที่มีอยู่เดิม และการปรับปรุงอัตราค่าบริการ/ ระบบสมาชิกให้สอดคล้องกับต้นทุนการให้บริการ : Profit & Service Approach
8-ปรับปรุงสนามอินทรีจันทรสถิตย์ ให้มีมาตรฐานรองรับการใช้งานเป็นสนามเหย้าของทีม Kasetsart FC ในฤดูกาลใหม่นี้ เพื่อใช้ทำการฝึกซ้อม แข่งขัน และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงสปิริต One for All ระหว่างนักกีฬากับนิสิต บุคลากร ศิษย์เก่า และกองเชียร์ : Proud to be Kasetsart
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกันควบคู่กับแผนงานเดิมของทางสำนักการกีฬาเพื่อนำไปสู่แผนงานระยะต่างๆ ต่อไปผ่านการหารือกับท่านผู้บริหาร หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ และผู้ปฏิบัติงานทุกระดับอย่างกัลยาณมิตร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดไว้เป็นสำคัญครับ
เพราะผมคิดและเชื่อมาตลอดว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี Eco System พร้อมมูลจะเป็น Health & Recreation Hub ที่นอกจากจะใช้พื้นที่และบริการต่างๆ เพื่อการเรียนการสอน การให้บริการนิสิต บุคลากรของเราเองแล้ว ยังสามารถเป็น Public Park ที่สำคัญของย่านบางเขนเพื่อให้บริการสังคมภายนอกทุกเพศวัยได้เป็นอย่างดีครับ ตามเป้าหมาย SDG Goals หัวข้อที่ 3 Good Health & Well-being และ 4 Quality Education ครับ
ผศ. รัชด ชมภูนิช
รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนและสื่อสารองค์กร
130863
#KU2SDGs
#YoucannotstopsportKU
#KUsportforfun
Today 2
Yesterday 1
Week 3
Month 7
All 459794
Currently are 17 guests and no members online